คือ จุลินทรีย์ที่เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว ที่เป็นเซลล์แบบโปรแคริโอต (prokariotic cell) พบทั่วไปในธรรมชาติ ดิน น้ำ อากาศ แบคทีเรียมีบทบาทสำคัญต่ออาหาร และการผลิตอาหาร เพราะ แบคทีเรียเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้อาหารเน่าเสีย (microbial spoilage) และทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ (food poisoning) ที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ดังนั้นการถนอมอาหาร (food preservation) ทุกวิธีเป็นเทคนิคที่ใช้เพื่อทำลาย หรือควบคุมสภาวะแวดล้อม เพื่อยับยั้งการเพิ่มจำนวนของแบคทีเรีย ถึงแม้มีโทษกับอาหาร แต่แบคทีเรียบางชนิด เช่น lactic acid bacteria นำมาใช้ประโยชน์อย่างมากในการหมักอาหาร (fermentation) และการบำบัดของเสีย เช่น การกำจัดน้ำเสีย (waste water treatment)
มีความแข็งแรงล้อมรอบทำให้เซลล์คงรูปร่างอยู่ได้ผนังเซลล์ประกอบด้วยสารพอลิแซ็กคาไรด์ โปรตีน และไขมัน เรียกว่า เพปติโดไกลแคน (peptidoglycans) เกิดจากสาร 2 ตัวจับกันคือ NAG (N-acetylglucosamine) และ NAM (N-acetylmuramic acid)
อยู่ถัดผนังเซลล์ ทำหน้าที่ ลำเลียงสารเข้าสู่เซลล์โดยกระบวนการแอกทีฟทรานสปอร์ต (active transport)
เป็นชั้นล้อมรอบผนังเซลล์อีกที่หนึ่งอาจประกอบด้วยพอลิแซ็กคาไรด์ กาแล็กโทส ฟรักโทส กลูโคส กรดยูโรนิก และกรดอะมิโน พบแคปซูลในแบคทีเรียบางชนิดเท่านั้น แบคทีเรียที่มีแคปซูลมักทำให้เกิดโรครุนแรง
เป็นโครงสร้างใช้ในการเคลื่อนที่แบคทีเรียส่วนใหญ่เป็นพวกที่เคลื่อนที่ได้ (motile) แฟลเจลลาประกอบด้วยเส้นใยเล็ก ๆ (fibril) เส้นเดี่ยวๆ รวมเป็นมัดแบคทีเรียอาจมีแฟลเจลลา 1 เส้นจนถึงหลายร้อยเส้น ตำแหน่งของแฟลเจลลาอาจอยู่ที่ปลายข้างหนึ่งของเซลล์หรือที่ปลายทั้งสองข้างหรืออยู่รอบๆ เซลล์
เป็นโครงสร้างที่พบในแบคทีเรียบางชนิด เอนโดสปอร์มีผนังแข็งแรงสามารถทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ เช่น ความร้อนความแห้งแล้งสารเคมีต่างๆ ในขณะที่เซลล์ปกติ (vegetative cell) จะตายเสียก่อน เมื่อเอนโดสปอร์ตกในสภาพแวดล้อมเหมาะสมจะเจริญเป็นเซลล์ปกติได้การสร้างเอนโดสปอร์จะสร้างเพียง 1 เอนโดสปอร์ต่อ 1 เซลล์ ดังนั้นจึงไม่ถือว่าเป็นการสืบพันธุ์ของแบคทีเรีย
เป็น DNA ที่อยู่นอกโครโมโซมของแบคทีเรีย พลาสมิดมีหลายชนิด บางชนิดควบคุมการแลกเปลี่ยนสารพันธุกรรม บางชนิดควบคุมการดื้อยาปฏิชีวนะต่างๆ ลักษณะของพลาสมิดเป็น DNA วงแหวน และเป็นเกลียวคู่สามารถจำลองตัวเองได้และสามารถถ่ายทอดไปสู่แบคทีเรียอื่นๆ ได้ด้วย
มีรูปร่างแตกต่างกันได้หลายแบบ แต่ที่มีอยู่มากมี 3 ชนิดคือ
เป็นแบคทีเรียที่ย้อมติดสีแดงของซัลฟานิน โอ (Safranin O) เนื่องจากมีชั้นของสารประกอบไขมันและคาร์โบไฮเดรต (lipopolysaccharides) ทำให้ไม่ติดสีม่วงของคริสตัลไวโอเลต (Crystal violet)
เป็นเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียรูปท่อน พบในลำไส้สัตว์เลือดอุ่น ปนเปื้อนมากับอุจจาระ ก่อให้เกิดโรคท้องร่วง ใช้เป็นตัวชี้วัดความสะอาดของอาหาร และน้ำได้
โคลิฟอร์มแบคทีเรียรูปท่อน ไม่สร้างสปอร์ พบในเนื้อสัตว์ที่นำมาทำอาหาร การปนเปื้อนเพียงเล็กน้อยทำให้ท้องร่วง และอาจทำให้ลำไส้อักเสบได้
มีหลายชนิด และพบได้มากสุด เช่น rhizobium ตรึงก๊าซไนโตรเจนในอากาศได้, purple sulfur bacteria สังเคราะห์แสงได้
แบคทีเรียรูปทรงเกลียวที่ทำให้เกิดโรคฉี่หนู, โรคซิฟิลิส
ทำให้เกิดโรคหนองใน
สังเคราะห์ด้วยแสงได้ ไม่มีคลอโรพลาสต์ แต่มีรงควัตถุ คลอโรฟิลล์กระจายอยู่ในไซโทพลาซึม ใช้บำบัดน้ำเสียได้ และเป็นอาหาร ของสัตว์น้ำ
ดำรงชีวิตได้เฉพาะในที่ที่มีออกชิเจน ปกติดำรงชีวิตแบบอิสระ แต่สามารถอาศัยอยู่ในปมรากพืชวงศ์ถั่ว ช่วยตรึงแก๊สไนโตรเจนในอากาศมาสร้างเป็นสารประกอบไนโตรเจนในดิน มีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืช
เป็นแบคทีเรียที่มีผนังเซลล์หนา ประกอบด้วย peptidoglycan แต่ไม่มีเยื่อสารประกอบไขมัน และคาร์โบไฮเดรตหุ้มภายนอกเหมือนกลุ่มแรก จึงย้อมติดสีม่วงของ คริสตัลไวโอเลต
ใช้สกัดทำยาปฏิชีวนะชื่อ Streptomycin รักษาวัณโรค
สามารถเปลี่ยนน้ำตาลกลูโคสให้เป็นกรดแลคติกได้ ใช้ทำโยเกิร์ต, นมเปรี้ยว, ผักดอง และชีส
สร้าง endospore ทําให้เกิดโรคแอนแทรกซ์
สร้าง endospore ทําให้เกิดโรคท้องร่วงอาเจียนอาหารเป็นพิษ
มีขนาดเล็กที่สุดก่อโรคทางเดินหายใจต่างๆ เช่น ปอดบวม, วัณโรค และโรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
สร้างอาหารเองไม่ได้ สร้างสารพิษโบทูลินัมพบในอาหาร กระป๋อง และหน่อไม้ปีบที่ปนเปื้อน ไล่อากาศออกหมดเกิดโรคโบทูลิซึม สร้างสารพิษเททานัส เกิดโรคบาดทะยัก
ลักษณะคล้ายพวงองุ่น พบได้บริเวณช่องจมูกและบนผิวหนังของมนุษย์ เป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อที่ผิวกระดูก และเลือด