ไฟลัมในอาณาจักรมอเนอรา (Phylum kingdom monera)

แบ่งได้เป็น 2 ไฟลัม คือ ไฟลัมชิโซไฟตา (Phylum Schizophyta) และไฟลัมไซยาโนไฟตา (Phylum Cyanophyta)

ไฟลัมไซยาโนไฟตา (Phylum Cyanophyta)

ได้แก่ สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (Blue-green algae) ปัจจุบันเรียกชื่อใหม่ว่า Cyanobacteria

ลักษณะของสิ่งมีชีวิตในไฟลัมไซยาโนไฟตา คือ

  1. ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส เป็นเซลล์พวกโปรคารีโอตไม่มี flagella
  2. มี chlorophyll phycocyanin phycorythin กระจายในเซลล์ แต่ไม่ได้รวมเป็น chloroplast
  3. ผนังเซลล์เป็น cellulose และ pectin
  4. มีขนาดเล็ก อาจอยู่ในลักษณะ เซลล์เดี่ยว เซลล์กลุ่ม หรือเซลล์ที่จัดเรียงเป็นสาย

การสืบพันธุ์

  1. การแบ่งตัว Binary fission.
  2. การหักเป็นท่อน (fragmentation) พบในพวกที่เป็นสาย
  3. สร้างสปอร์หรือสร้างเซลล์พิเศษ เช่น akinete

ประโยชน์

  1. เป็นผู้ผลิตอาหาร และ O2
  2. Spirulina หรือเกลียวทองมี protein สูง ใช้ทำอาหารเสริมคน และสัตว์
  3. Nostoc Anabaena Oscillatori สามารถเพิ่มความตรึง N ทำเป็นปุ๋ยในดิน เช่น แหนแดง (Azolla) ซึ่ง Anabaena อยู่ช่องว่างกลางใบ

ไฟลัมชิโซไฟตา (Phylum Schizophyta)

สิ่งมีชีวิตที่จัดอยู่ในไฟลัมนี้ ได้แก่ แบคทีเรีย

ลักษณะของสิ่งมีชีวิตในไฟลัมซิโซไฟดา คือ

  1. มีเซลล์ขนาดเล็ก
  2. เซลล์รูปร่างต่าง ๆ มีการเรียงตัวทำให้เกิดลักษณะเฉพาะ ดังนี้
    • ค็อกคัส (coccus) หรือค็อกไค (cocci) : เป็นทรงกลม อยู่ในที่แห้งแล้งได้ดี
      • 2 เซลล์ติดกันเรียกว่า diplococci
      • 4 เซลล์เรียงกัน เรียกว่า tetrad
      • 8 เซลล์เรียงเป็นลูกบาศก์เรียกว่า sarcina
      • หลายเซลล์เรียงกันเป็นสายยาวเรียกว่า streptococci
    • บาซิลลัส (bacillus) หรือบาซิลไล (bacilli) : มีรูปร่างเป็นทรงกระบอก ไม่ค่อยมีแบบแผนการเรียงตัวที่เด่นชัดเท่าทรงกลม แต่อาจมีการเรียงตัวของเซลล์เนื่องมาจากระยะการเจริญเติบโตหรือขึ้นกับสภาพของการเพาะเลี้ยงในอาหาร ช่วยในการแลกเปลี่ยนสารอาหาร ทนกับสภาพแวดล้อมได้ดี
    • สไปร์ลลัม (Spirillum) หรือสไปลไล (Spirilli) : เป็นรูปเกลียว มักอยู่เป็นเซลล์เดี่ยว ๆ แต่ละชนิดมีความแตกต่างกันทั้งทางด้านความยาว จำนวนเกลียว ความโค้ง และจะเคลื่อนที่ในลักษณะดวงสว่านจึงลดแรงเสียดทานได้ในขณะเคลื่อนที
  3. สร้างสปอร์หรือสร้างเซลล์พิเศษ เช่น akinete
  4. การแบ่งแบคทีเรียตามความต้องการสารอาหาร ได่แก่ Photoautotroph, Photoheterotroph, hemoautotroph และChemoheterotroph
  5. การแบ่งแบคทีเรียตามความต้องการอากาศ ได้แก่ Aerobic bacteria, Facultative bacteria, microaerophilic bacteria และAnaerobic bacteria
  6. การแบ่งแบคทีเรียตามความต้องการอุณหภูมิ ได้แก่ Psychrophile, Mesophile และThermophile