สรุปเนื้อหาเเบคทีเรีย

  1. มีเซลล์ขนาดเล็กโดยทั่วไปมีความยาว 2-10 ไมโครเมตรกว้าง 0.2-2.0 ไมโครเมตร
  2. มีรูปร่าง 3 แบบ คือ
    • ทรงกลม เรียกว่า ค็อกคัส (coccus, เอกพจน์ cocci = พหูพจน์)
    • รูปท่อน เรียกว่า บาซิลลัส (bacillus, เอกพจน์ bacilli, พหูพจน์)
    • เป็นเกลียว เรียกว่า สไปริลลัม (spirillum, เอกพจน์ spirilli, พหูพจน์)
  3. เซลล์รูปร่างต่าง ๆ มีการเรียงตัวทำให้เกิดลักษณะเฉพาะ เช่น
    • เซลล์ทรงกลม 2 เซลล์เรียงต่อกันเรียก ดิโพลค็อกไค (diplococci)
    • เซลล์ทรงกลมหลายเซลล์เรียงต่อกันเป็นลูกโซ่เรียก สเตรปโตค็อกไค (streptococci)
    • เซลล์ทรงกลมเรียงเป็นกลุ่มคล้ายพวงองุ่นเรียก สแตฟิโลด็อกไค (staphylococci)
    • เซลล์ทรงกลม 8 เซลล์เรียงเป็นลูกบาศก์เรียก ซาร์สินา (sarcina)
    • ส่วนพวกที่ขดเป็นเกลียวมักไม่อยู่เป็นกลุ่มแต่อยู่เป็นเซลล์เดี่ยว ๆ แต่ละชนิดมีความโค้งของเซลล์มากน้อยต่างกัน
  4. บางชนิดสังเคราะห์ด้วยแสงได้เพราะมีแบคเทอริโอคลอโรฟิลล์ (bacteriochlorophyll) บางชนิดสังเคราะห์เคมีได้ จึงสร้างอาหารได้เอง
  5. ส่วนใหญ่อาศัยอาหารจากสิ่งมีชีวิตอื่นบางชนิดอยู่เป็นอิสระหรือดำรงชีวิตแบบ saprophyte บางชนิดเป็นปรสิต
  6. พบทั่วไปทั้งในดินมหาสมุทรในอากาศ
  7. บางชนิดต้องการออกซิเจนบางชนิดไม่ต้องการออกซิเจนบางชนิดอยู่ได้ทั้งที่มี หรือไม่มีออกซิเจน

โครงสร้างเเบคทีเรีย

การสังเคราะห์ด้วยแสงของมอเนอรา bacteria และ archaea ไม่ได้เกิดจากคลอโรฟิลล์ แต่เกิดจาก pigment และไม่ได้เป็นผลิตภัณฑ์ cyanobacteria มอเนอราชนิดเดียวที่มีคลอโรฟิลล์และสังเคราะห์ด้วยแสงเหมือนพืชได้เป็นผลิตภัณฑ์


ยูแบคทีเรีย (Eubacteria)

  1. แบคทีเรียแกรมลบ ( Gram negative eubacteria)

    เป็นแบคทีเรียที่ย้อมติดสีแดงของซัลฟา นิน โอ (Safranin O) เนื่องจากมีชั้นของสารประกอบไขมันและคาร์โบไฮเดรต (lipopolysaccharides) ทำให้ไม่ติดสีม่วงของคริสตัลไวโอเลต

  2. แบคทีเรียแกรมบวก (Gram positive eubacteria)

    เป็นแบคทีเรียที่มีผนังเซลล์หนา ประกอบด้วย peptidoglycan แต่ไม่มีเยื่อสารประกอบไขมัน และคาร์โบไฮเดรตหุ้มภายนอกเหมือนกลุ่มแรก จึงย้อมติดสีม่วงของคริสตัลไวโอเลต

รายละเอียดเนื้อหา